วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชะอม ใส่แกงได้ ใส่ไข่ทอดก็ดี มีสรรพคุณสมุนไพร


ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen
ชื่อวงศ์           Fabaceae
ชื่อทั่วไป        ชะอม หรือ Acacia pennata
ชื่ออื่นๆของชะอม   ผักหละ ผักลำ ผ้าห้า ผักป่า ผักแก่ ผักขา
ลักษณะของต้นชะอม
  •  ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน
คุณค่าทางโภชนาการของชะอม
ชะอมเแป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่จัดว่าไม่เบาเลยทีเดียว โดยยอดชะอม 100 กรัม ให้สารอาหารต่างๆดังนี้
  • ให้พลังงานกับร่างกาย   57 กิโลแคลอรี่
  • มีเส้นใย ซึ่งมีส่วนช่วยระบบขับถ่ายอยู่ 5.7 กรัม
  • มีแคลแซียมซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูกและฟันอยู่ 58 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัสซึ่งช่วยให้วิตามินบีต่างๆทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพซึ่งมีอยู่ถึง 80 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือด บำรุงโลหิต    4.1 มิลลิกรัม
  • มีวิตามินต่างๆดังนี้  วิตามินเอ(บำรุงสายตา) 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
คุณค่าทางด้านสมุนไพรไทย
ใบชะอม (เน้นที่ใบหรือยอดอ่อน)   สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้
รากชะอม   หากนำมาต้มรับประทาน  จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดกรด จุกเสียดแน่นท้องและขับลมในกระเพาะอาหาร
ข้อควรระวังเล็กๆน้อยๆในการรับประทานชะอม
ผักชะอมในช่วงหน้าฝน จะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนมาก บางครั้งหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้ปวดท้องและสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนแนะนำว่าไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้งได้

อ้างอิงจาก  http://สมุนไพรไทย.net/


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง


ประวัติ


พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1

[แก้]ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น


โคมลอยยี่เป็ง
  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
    • จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี"ยี่เป็ง"เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
    • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
    • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
  • ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
  • ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
    • กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
    • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

[แก้]ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

Loy Krathong Bangkok Lumpini Park 2.jpg
  • เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
  • เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
  • เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
  • ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพระยามารได้

[แก้]